ข้อดีของ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller มีอะไรบ้าง

ข้อดีของ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller มีอะไรบ้าง

ความแตกต่างของ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller

Chiller


Chiller คืออะไร?

ชิลเลอร์ คือระบบปรับอากาศขนาดใหญ่หรือเราสามารถเรียกง่ายๆ ว่า “เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่” นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ถูกนำมาใช้ในหลากหลายลักษณะ ทั้งการนำมาใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้าและอาคารขนาดใหญ่, ห้องเย็น,ตู้แช่เย็น หรือการทำความเย็นเพื่อใช้กับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

เช่น กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ในการผลิตไอศกรีมหรือนม, การเก็บรักษาอาหารเพื่อรักษาความสดใหม่ให้คงไว้, การขนส่งแบบรักษาอุณหภูมิ อาทิ ห้องเย็นบนเรือขนส่งหรือรถห้องเย็น นอกจากนั้นยังนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือโรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

 

ทำไมหลายอุตสาหกรรมจะต้องใช้ “Chiller” ?

Chiller นั้นถือเป็นส่วนประกอบในกระบวนการสำคัญของอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระบวนการผลิตแล้ว ยังช่วยให้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีอีกหลายเหตุผลสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยต้องใช้ชิลเลอร์ อาทิ

  • สามารถทำความเย็นได้รวดเร็วและกระจายไปตามจุดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง แม้สภาพอากาศภายนอกจะร้อนมากแค่ไหน เนื่องจากชิลเลอร์เป็นระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ที่มีขนาดใหญ่ จึงสามารถผลิตความเย็นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกระจายไปยังจุดต่างๆ ได้พร้อมกันอย่างทั่วถึง

  • ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งบประมาณส่วนใหญ่กับเครื่องปรับอากาศเพื่อรักษามาตรฐานการผลิต ซึ่ง Chiller เป็นระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง โดยในปัจจุบันนี้มีการพัฒนารุ่นใหม่ๆ ที่ช่วยประหยัดพลังงานมากกว่ารุ่นเก่าออกมาให้เลือกอีกมากมาย

  • เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม เพราะ Chiller ไม่ได้ใช้สาร CFC ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก จึงสามารถบอกได้ว่าเป็นระบบปรับอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

 

หลักการทำงานในแต่ละองค์ประกอบสำคัญของ “Chiller” มีอะไรบ้าง?

  • Evaporator (อีวาพอเรเตอร์) : หรือเรียกว่าคอยล์เย็น คือส่วนสำคัญอันดับแรกที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากภายนอก ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสารทำความเย็น โดยจะทำให้สารทำความเย็นกลายเป็นไอจนสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นได้

  • Compressor (คอมเพรสเซอร์) : ทำหน้าที่เพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็น เพราะสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอ ที่ไหลออกมาจากคอยล์เย็นจะมีความดันต่ำ ซึ่ง Compressor นี่เองจะเป็นสิ่งที่เพิ่มความดันโดยการอัดไอให้ความดันที่สูงขึ้น ก่อนจะส่งไปควบแน่นต่อที่คอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน

    Condenser (คอนเดนเซอร์) : ก็คือคอยล์ร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนที่มีความดันสูงของสารทำความเย็น เพื่อช่วยให้เกิดการควบแน่นของสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง

  • Expansion Valve (เอ็กเพนชั่นวาล์ว) : ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานของ Chiller คือจะทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ถูกส่งมาจาก Condenser โดย Expansion Valve จะเป็นส่วนที่ปรับลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง และพร้อมที่จะรเหยตัวที่อุณหภูมิที่ต่ำเพื่อส่งผ่านไปยัง Evaporator หรือคอยล์เย็นอีกครั้ง และจะทำงานวนเป็นวงจรการทำความเย็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ นั่นเอง

  • Refrigerant หรือสารทำความเย็น : คือสารที่สามารถเปลี่ยนสถานะไปมาจากของเหลงเป็นไอ จากไอเป็นของเหลวได้ ซึ่งคุณสมบัติของสารทำความเย็นที่ดีจะต้องพาความร้อนได้มาก ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันหล่อลื่นและน้ำ มีปริมาตรของแก๊สน้อยต่อหน่วยน้ำหนักและใช้แรงอัดต่ำในการที่จะทำให้เป็นของเหลว 


Chiller สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทตามลักษณะการระบายความร้อนที่เครื่องควบแน่นคือ Condenser ได้ดังนี้คือ

  1. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller) : เหมาะสำหรับโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการความเย็นมาก เพราะเป็นระบบขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง ประมาณ (0.62 – 0.75 กิโลวัตต์/ตัน) ที่แม้จะได้ระบบปรับอากาศที่กินไฟฟ้าน้อยกว่าระบบอื่น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง เนื่องจากต้องมีการติดตั้งหอระบายความร้อน (Cooling Tower) เครื่องสูบน้ำระบายความร้อน (Condenser Water Pump) และยังต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการสึกกร่อนและตะกรันในระบบท่อ รวมถึงเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อป้องกันปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องทำน้ำเย็นทำงานได้ลดลง 

    หลักการทำงานของระบบ Water Cooled Chiller คือ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะดูดไอของสารทำความเย็นจาก อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) และอัดสารทำความเย็นซึ่งอยู่ในรูปแบบของไอเย็นความดันต่ำ จนกลายเป็นไอร้อน ก่อนที่สารทำความเย็นนี้จะถ่ายเทความร้อนออกผ่านแผงระบายความร้อน (Condenser) เพื่อแปรสภาพเป็นของเหลว และลดความดันด้วยอุปกรณ์ลดแรงดัน ก่อนนำความเย็นที่ได้ไปใช้งาน

    การระบายความร้อนออกจากระบบ Water Cooled Chiller จะใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดึงความร้อนออกจากสารทำความเย็น ผ่านทางแผงระบายความร้อน (Condenser) จึงจำเป็นต้องมีหอหล่อเย็น (Cooling tower) เพื่อลดอุณหภูมิน้ำ เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ในระบบวนไปเป็นวัฏจักรนั่นเอง

  2. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) : ระบบนี้เป็นระบบที่มีขนาดเล็กกว่าระบบแรก โดยปกติขนาดการทำความเย็นไม่เกิน 500 ตัน มีประสิทธิภาพสำหรับในการทำความเย็น ประมาณ (1.4 -1.6 กิโลวัตต์/ตัน) ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการติดตั้ง 

    ความแตกต่างของระบบ Air Cooled Chiller นี้กับ Water Cooled Chiller ก็คือจะไม่มีวงจรของน้ำในการระบายความร้อน เพราะจะใช้อากาศในการระบายความร้อนแทนนั่นเอง โดยจะมีอุปกรณ์สำคัญคือเครื่องทำน้ำเย็น, ปั๊มน้ำเย็นและอุปกรณ์ส่งจ่ายลมเย็น เท่านั้น

    โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นจะใช้อากาศดูดหรือเป่าไปยังขดท่อความร้อน ซึ่งอาจมีพัดลมหลายชุดในชิลเลอร์ ดังนั้นเครื่องทำน้ำเย็นระบบนี้ Air Cooled Chiller จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ Water Cooled Chiller พราะน้ำจะมีความสามารถในการระบายความร้อนสูงกว่า และหากพัดลมเกิดชำรุดก็จะทำให้เกิดการลัดวงจรของลม ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย

 

  

 

ข้อดีของ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller มีอะไรบ้าง?

เพราะทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ระบบของ Chiller เองก็เช่นกัน ทั้ง 2 ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ปรับอากาศให้เย็นขึ้น ฉะนั้น การเลือกใช้ชิลเลอร์ประเภทไหน จึงควรทราบข้อดี ข้อเสียของแต่ละประเภท เพื่อนำมาเทียบกับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานของคุณ ดังนี้

 

ข้อดีของระบบ Water Cooled Chiller

✔ ประหยัดพลังงานมากกว่า ระบบ Air Cooled Chiller
✔ คุ้มค่าในการใช้ยาวระยะยาวมากกว่า ระบบ Air Cooled Chiller
✔ ประสิทธิภาพความเย็นสูงมากถึง (0.62 – 0.75 กิโลวัตต์/ตัน)
✔ ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า ระบบ Air Cooled Chiller
✔ เหมาะสำหรับโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการความเย็นสูง
 

ข้อเสียของระบบ Water Cooled Chiller

คือ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง
 

ข้อดีของระบบ Air Cooled Chiller

✔ ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัด
✔ สามารถส่งน้ำไปในบริเวณที่ต้องการได้ไกล
✔ การติดตั้งไม่ซับซ้อน และง่ายการบำรุงรักษา
✔ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่สูงมาก

 

ข้อเสียของระบบ Air Cooled Chiller

คือ สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าระบบ Water Cooled Chiller และอายุการใช้งานที่สั้น เพราะจะต้องติดตั้งภายนอกอาคารซึ่งตากแดดตากฝนตลอดเวลา

ฉะนั้นถ้าถามว่า 2 ระบบนี้จะเลือกใช้ระบบไหนดีกว่ากัน เราคงต้องบอกว่าให้พิจารณาจากขนาดของพื้นที่การใช้งาน Chiller และความต้องการประสิทธิภาพของการทำความเย็นก่อน ว่าคุณเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือไม่? หากไม่ใช่การเลือกระบบ Air Cooled Chiller ดีกว่า เพราะถึงแม้จะเปลืองพลังงานมากและเสียค่าไฟมากกว่าอีกระบบ แต่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการดูแลรักษาไม่มาก

นอกจากการพิจารณาเรื่องการประหยัดพลังงานหรือค่าไฟฟ้าแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายโดยรวม ค่าสารเคมี ค่าบำรุงรักษา การใช้พื้นที่ ความปลอดภัย และระยะเวลาการคืนทุนเร็วช้าเพิ่มเติมด้วยนั่นเอง

 

หากคุณกำลังมองหา Chiller ที่เป็นระบบปรับอากาศคุณภาพดีอยู่แล้วล่ะก็ แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด (McEnergy) ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบปรับอากาศในอาคาร ระบบชิลเลอร์ chiller ที่มีบริการด้านระบบปรับอากาศที่สมบูรณ์และครบวงจร และ ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO9001 เรายังมีบริการออกแบบระบบประหยัดพลังงานสำหรับอาคารและโรงงาน และ บริการบำรุงรักษา การทดสอบการใช้งานของระบบ และการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง

บริษัท แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด
Tel: 02-509-3211
Email : admin@mcenergy-evo.com