วิธีการตรวจสอบสภาพ ชิลเลอร์
สำหรับคนทำงานทั่วไปแล้ว การได้อยู่ในอาคารสำนักงาน หรือ โรงงาน ที่ติดตั้งระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ หรือ ชิลเลอร์ (Chiller) ที่สามารถกระจายความเย็นฉ่ำสม่ำเสมอได้ทั่วถึงทุกพื้นที่การทำงาน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมสำคัญที่เอื้อต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนะคะ
ด้วยในวันใด หากชิลเลอร์ หรือ ระบบปรับอากาศภายในสำนักงาน หรือ ตัวอาคาร โรงงาน เกิดขัดข้องไม่สามารถส่งผ่านหรือกระจายความเย็นออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยที่ฝ่ายช่างเทคนิค หรืองานซ่อมบำรุง ไม่สามารถเข้ามาแก้ไขได้ในทันที ก็เชื่อเหลือเกินว่า ในวันนั้น ก็อาจจจะเป็น ‘Bad Day’ ของคนทำงานกันไปไม่น้อย จากสภาพแวดล้อมที่ร้อน อบอ้าว ไม่เป็นใจต่อการให้ทำงานเท่าใดนัก และสิ่งที่อาจตามมาในวันนั้น คือ ผลผลิตงานที่อาจออกมาได้ไม่เต็มที่
แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักชิลเลอร์ ในเบื้องต้นกันก่อนว่า ชิลเลอร์ นั้นมีหน้าที่หลักๆ ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับลดอุณหภูมิน้ำเพื่อจ่ายไปยังเครื่องปรับอากาศต่างๆ ในอาคาร โดยส่วนมากแล้ว ชิลเลอร์จะถูกนำใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้าหรือโรงงานที่ต้องอาศัยความเย็นในการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า หรือใช้เป็นส่วนประกอบในการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึงยังประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายขณะที่ ชิลเลอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ 1. แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller) เป็นระบบขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบระบายด้วยอากาศเช่นกัน ในกรณีที่โครงการมีขนาดใหญ่ และมีความต้องการความเย็นมากมักจะนิยมใช้เครื่องทํานํ้า เย็นชนิดนี้
และ 2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) เป็นระบบที่เล็กกว่าระบบแรก โดยมีความแตกต่างกันที่การระบายความร้อน ซึ่งระบบนี้จะไม่มีวงจรของน้ำระบายความร้อนเพราะจะใช้อากาศในการระบายความร้อน ทำให้เครื่องทำน้ำเย็นระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ เพราะน้ำจะมีความสามารถในการระบายความร้อนสูงกว่า อีกทั้งเมื่อพัดลมชำรุดจะเกิดการลัดวงจรของลมทำให้ประสิทธิภาพลดลงด้วย
ดังนั้นชิลเลอร์ แต่ละแบบก็จะมีความเหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานตามแต่ละประเภทหรือเจ้าของธุรกิจ โรงงานแต่ละแห่งในการเลือกระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ที่มีขนาดใหญ่สามารถผลิตความเย็นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกระจายไปยังจุดต่างๆ ได้พร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง
ด้วยการทำงานของชิลเลอร์ ซึ่งเป็นระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งบประมาณส่วนใหญ่กับเครื่องปรับอากาศเพื่อรักษามาตรฐานการผลิต ด้วยเช่นกัน
เห็นข้อดีของชิลเลอร์ แบบนี้แล้ว ทีนี้เรามาดูวิธีวิธีการตรวจสอบสภาพชิลเลอร์ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ หรือถึงเวลาจะต้องซ่อมบำรุง ไปจนถึงเวลาปรับเปลี่ยนชิลเลอร์ กันแล้วหรือยัง?
ด้วยงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สำหรับชิลเลอร์ ระบบเครื่องทำความเย็นนั้น อันที่จริงแล้วฝ่ายซ่อมบำรุงรักษางานระบบ สามารถดำเนินการวางแผนตรวจสอบได้ในทุกวัน ทุกสัปดาห์ ครึ่งปีหรือทุกปี ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานของฝ่ายเทคนิคนั้นๆที่รับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น ช่างเทคนิคควรทำการตรวจสอบด้วยสายตาเป็นประจำทุกวัน เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรมในแต่ละจุดการทำงานของชิลเลอร์
ขณะที่ในทุกสัปดาห์ ควรจะต้องมีผู้ตรวจสอบคอยล์เย็นและคอยล์เย็นควบแน่น รวมถึงอุณหภูมิของมอเตอร์ด้วย โดยเครื่องทำความเย็นควรจะได้รับการทดสอบหารอยรั่ว ควบคุมการทำงาน และคุณภาพน้ำทุกสัปดาห์เช่นกัน
รวมถึงควรให้มีการตรวจสอบรายการต่างๆ ดังนี้ ตัวกระจายความเย็น (Load Balance) ที่ควรจำกัดไว้ปีละสองครั้ง โดยจัดให้มีการทำความสะอาดอย่างละเอียด การตรวจสอบระบบไฟฟ้า และการปรับแต่งการบำรุงรักษาอื่นๆ เป็นประจำทุกปี โดยงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั้น ที่นอกจากจะช่วยปกป้องต้นทุนของธุรกิจแล้ว แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงาน อีกด้วย
สำหรับรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับชิลเลอร์ เครื่องทำความเย็น ในเบื้องต้น มีดังนี้
- เครื่องอัดอากาศ ควรหมั่นตรวจสอบว่าอุณหภูมิและความดันอยู่ภายในช่วงที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม และการระบายท่อน้ำทิ้งในแต่ะวัน
รวมไปถึง การตรวจสอบวาล์วระบายแรงดัน ความตึงของสายพาน และการจัดตำแหน่งสายพานเป็นประจำทุกสัปดาห์ จากนั้นตรวจสอบการรั่วของส่วนประกอบช่องอากาศเข้า ซึ่งมักเกิดขึ้นจากท่อที่สึกหรอ วาล์วอากาศเสีย หรือการบรรจุในกระบอกสูบ
ถัดไป ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์ทุกเดือน เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องก็ควรหล่อลื่นส่วนประกอบที่เคลื่อนไหวทั้งหมดเช่นกันสุดท้าย ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนข้อต่อ ซีล ตัวกรองของสายการบิน และการติดตั้งเป็นประจำทุกปี
- ตัวจัดการอากาศ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวกรอง คอยส์สะอาด แดมเปอร์ และท่อยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกเหนือจากการตรวจสอบรายวันด้วยสายตาอย่างรวดเร็วแล้ว งานบำรุงรักษาเครื่องจัดการอากาศเหล่านี้ ยังจะต้องดำเนินการเป็นรายเดือนหรือรายปี ด้วยเช่นกัน
- คูลลิ่งทาวเวอร์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำหมุนเวียนสะอาดแเพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังต้องทำความสะอาด ตรวจสอบ หล่อลื่น และปรับมอเตอร์ พัดลม และปั๊มทั้งหมดภายในหอทำความเย็นเป็นประจำ
- พัดลม อุปกรณ์ที่แยกเดี่ยวออกมาในการทำความเย็น หรือทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมของระบบปรับอากาศ ซึ่งหากมีการบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อยพัดลมก็สามารถที่จะให้บริการได้นานหลายปี
- สัญญาณเตือนไฟไหม้และเครื่องตรวจจับควัน เป็นหนึ่งในระบบสำคัญที่มาพร้อมกับชิลเลอร์ ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ในอาคาร ที่ฝ่ายอาคาร สถานที่ควรจัดตารางการทดสอบสัญญาณเตือนไฟไหม้ และเครื่องตรวจจับควันเป็นประจำ เพื่อสให้แน่ใจว่าระบบป้องกันอัคคีภัยมีความพร้อมเมื่อจำเป็น
- มอเตอร์ โดยส่วนประกอบเคลื่อนที่ของมอเตอร์จะไวต่อการสึกหรอตามปกติหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน โดยอัตราการเสื่อมสภาพมอเตอร์จะเร็วขึ้นมากน้อยเพียงใดยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ประกอบกับที่โรงงาน หรือ อาคารแต่ละแห่งอาจใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในบางประเภทแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนงานอย่างเป็นระบบ เพื่อดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
- ปั๊ม การตรวจสอบความเสถียรและความสมดุลเป็นประจำของระบบปั๊ม ทั้งการหล่อลื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อประเมินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยสามารถวางแผนการตรวจสอบแบบรายวัน รายเดือน และ แผนประจำปี ได้ตามลำดับ
- หม้อไอน้ำ อุปกรณ์หนักในการผลิตน้ำร้อนหรือไอน้ำผ่านการเผาเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหม้อไอน้ำจะทำงานภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เนื่องจากต้องอยู่ภายใต้สภาวะการทำงานที่รุนแรง ดังนั้นจะต้องแน่ใจว่าหม้อไอน้ำ ต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม ที่ไม่เฉพาะเพื่อคามเสถียรของการทำงานแล้วแต่ยังหมายถึงความปลอดภัย อีกด้วย
ดังนั้น การหมั่นตรวจสอบสภาพชิลเลอร์ ภายในสำนักงาน หรือ โรงงาน อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ก็น่าจะเป็นเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต่างๆไม่ควรมองข้ามกัน ด้วยเป็นอีกหนึ่งจุดเล็กๆแต่มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว ที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงานได้ เพื่อสร้าง ‘บรรยากาศเป็นใจ’ ในการทำงาน ทั้งนี้หลังจากเช็คลิสต์รายการตรวจสอบสภาพชิลเลอร์ กันในเบื้องต้นแล้ว หากพบว่ามีชิ้นส่วน หรือ อุปกรณ์ชำรุด บกพร่อง ก็ไม่ควรรอช้าที่จะเข้าไปดูแลรักษา หรือหากไม่มั่นใจตรวจสอบเองก็สามารถใช้บริการจากผู้ดำเนินธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญระบบชิลเลอร์ ได้เช่นกัน
อย่าง McEnergy ผู้นำให้บริการครบวงจร (Turnkey) ระบบปรับอากาศในอาคารประหยัดพลังงานในโรงงาน พร้อมให้บริการเริ่มตั้งแต่ การออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบชิลเลอร์ ในอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุสาหกรรมด้วยจุดเด่น ทีมงานวิศวกรและฝ่ายบริการ ที่พร้อมคัดสรรชิ้นส่วนและอุปกรณ์คุณภาพดีจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงทั่วโลก มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับอาคาร และสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ด้วยเช่นกัน