ประเภทของ คูลลิ่งทาวเวอร์ มีลักษณะไหนบ้าง

ออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์อย่างไร ให้เพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศ

ประเภทของ คูลลิ่งทาวเวอร์

 

ถ้าหากจะพูดถึงการระบบระบายความร้อนในโรงงาน หรือในภาคอุตสาหกรรม ก็ต้องนึกถึง คูลลิ่งทาวเวอร์ ซึ่งเป็นระบบสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานของเครื่องจักร รวมไปถึงการทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่คูลลิ่งทาวเวอร์ จะเป็นอย่างไร มีการออกแบบอย่างไรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นต้องขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย

คูลลิ่งทาวเวอร์  คืออะไร มีกี่ประเภท ?

คูลลิ่งทาวเวอร์  (Cooling Tower) หรืองให้เข้าใจกันง่ายๆ ในชื่อของ หอสำหรับการหล่อเย็น หรือ หอระบายความร้อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น มีจุดประสงค์ก็เพื่อการถ่ายเทความร้อนให้กับเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม ระบบปรับอากาศภายในอาคาร รวมไปถึงความร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยสามารถรองรับการทำงานของเครื่องจักรและกระบวนการผลิตทั้งหมดในโรงงาน มีหลักงานทำงานโดยใช้วิธีการระเหย (Evaporation) โดยคูลลิ่งทาวเวอร์จะทำหน้าที่ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นให้กระจายตัวเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ตกลงบนแผ่นสำหรับกั้นละอองน้ำ หรือ Filler ซึ่งภายในจะมีตัวดูดอากาศสำหรับดูดละอองน้ำกลับเข้าสู่ภายใน กระบวนการจะสูญเสียน้ำไปบางส่วน แต่น้ำที่ผ่านเข้ามาภายในเครื่องจะเกิดกระบวนการถ่ายเทความร้อน และไหลลงมายังส่วนฐานด้านล่าง จากนั้นจะถูกดูดผ่านระบบ Chiller เพื่อนำไปใช้งานต่อไปในระบบการหล่อเย็น หรือทำความเย็น และเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูง ก็จะถูกดดกลับเข้ามาใน คูลลิ่งทาวเวอร์ อีกครั้ง กระบวนนี้จะหมุนวนเรื่อยไป ช่วยในการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการทำความเย็น ทั้งยังชาวยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน อาคาร หรือสถานที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

คูลลิ่งทาวเวอร์  สามารถแบ่งกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกเป็น 2 ส่วน คือการถ่ายเทความร้อนสัมผัส หรือ Sensible Heat จะเป็นลักษณะของปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารหรืออุณหถูมิเปลี่ยนแปลงไป แต่ความร้อนยังคงเดิม และ การถ่ายเทความร้อนแฝง หรือ Latent Heat ซึ่งเป็นลักษณะของปริมาณความร้อนที่เข้าหรือออกจากสสารใดๆ แล้วส่งผลทำให้สสารเปลี่ยนสถานะไป เช่น จากของแข็งกลายเป็นของเหลว หรือแก๊ส โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทั้งนี้ คูลลิ่งทาวเวอร์ ยังแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามระบบการทำระบายความร้อน คือ

  1. คูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบเปิด ซึ่งเป็นการทำงานโดยน้ำที่เกิดกระบวนการระเหย จะสัมผัสกับอากาศจากภายนอกโดยตรง คูลลิ่งทาวเวอร์ระบบเปิดนี้จึงทำให้เกิดโอกาสที่สิ่งสกปรก หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ สามารถปนเปื้อนเข้ามายังภายในได้ คูลลิ่งทาวเวอร์ระบบแบบเปิดนี้จึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำอยู่เสมอ รวมไปถึงเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือใช้ไฟฟ้า สารเคมี เข้ามาช่วยในการกำจัดคราบต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  2. คูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบปิด เป็นระบบที่ทำใช้วิธีท่ายเทความร้อนของน้ำผ่านผนังของระบบออกไปยังอากาศภายนอก โดยวิธีนี้จะทำให้น้ำที่เกิดการระเหยไม่สัมผัสกับอากาศที่อยู่ภายนอกโดยตรง ส่งผลให้น้ำยังคงความสะอาดไว้ได้โดยไม่มีสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกเข้ามา แต่คูลลิ่งทาวเวอร์ระบบปิดนี้เอง ก็แลกมาด้วยความซับซ้อนในการทำงานที่มากกว่า รวมไปถึงมีขนาดที่ใหญ่กว่าและราคาที่สูงมากกว่าด้วย

 

ออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์ อย่างไร ให้สามารถเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศได้มากยิ่งขึ้น

คูลลิ่งทาวเวอร์ นั้น มักจะถูกติดตั้งอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานไฟฟ้า, โรงงานสารเคมี, โรงงานเหล็ก, โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น โดยจะช่วยระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักร รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศที่มีการใช้ระบบแบบรวมศูนย์ (Chiller System) คูลลิ่งทาวเวอร์จึงช่วยให้ระบบต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการลดอัตราการใช้พลังงานได้มากยิ่งขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย การออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์เพื่อเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศนั้นจะต้องอาศัยการศึกษาและวิเคราะห์ของลักษณะของอากาศและพื้นที่ที่ต้องการจะออกแบบ รวมไปถึงการวิเคราะห์ลักษณะของสภาพอากาศของบริเวณโดยรอบที่ตั้งโรงงาน, ความเร็ว ความถี่ และทิศทางของลม เป็นต้น เหล่านี้ล้วนส่งผลที่จะช่วยให้การทำงานของคูลลิ่งทาวเวอร์นั้นมีประสิทธิภาพและทำได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศนั้น ยังสามารถทำได้ด้วยวิธีดังนี้

  • การเลือกขนาดและรูปแบบของคูลลิ่งทาวเวอร์  หลังจากที่วิเคราะห์ลักษณะของอากาศแล้ว จะต้องเลือกรูปแบบและขนาดที่เหมาะสมกับโรงงาน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบคูลลิ่งทาวเวอร์  เช่น เปลี่ยนเป็นคูลลิ่งทาวเวอร์ที่มีรูปแบบที่เหมาะสมกับการแห้งอากาศ ก็จะช่วยเพิ่มปรอมาณการไหลและปริมาณการแห้งของอากาศได้มากยิ่งขึ้น

  • การปรับปรุงความกว้างและความสูงของคูลลิ่งทาวเวอร์ ในการปรับปรุงความกว้าง ความสูง หรือต่อเติมโครงสร้างของคูลลิ่งทาวเวอร์นั้นจะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งของอากาศได้มากขึ้นด้วย

  • การปรับตั้งค่าให้การทำงานของคูลลิ่งทาวเวอร์ ให้มีความเร็วในการทำงานที่มากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศให้มากขึ้นได้ นอกจากนี้การเพิ่มการแตกตัวของละอองน้ำ, เพิ่มพพื้นที่แผงกระจายละอองน้ำ และการเพิ่มปริมาณอากาศ ก็จะยิ่งช่วยให้คูลลิ่งทาวเวอร์สามารถเพิ่มปริมาณการไหลและปริมาณการแห้งอากาศได้

  • หมั่นทำความละอาดและดูแลคูลลิ่งทาวเวอร์ อย่างสม่ำเสมอ การตรวจสอบเช็คสภาพของคูลลิ่งทาวเวอร์อย่างสม่ำเสมอนั้น จะช่วยให้คูลลิ่งทาวเวอร์ สามารถทำอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระบายความร้อนได้ดี ไม่มีความเสียหายซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการรบกวนการทำงานของระบบส่งผลทำให้ระบบไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
 

คูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยในการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องจักร หรือเครื่องปรับอากาศ ภายในอาคาร สถานที่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว ยังช่วยในส่วนของการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกติดตั้งคูลลิ่งทาวเวอร์จึงมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพอุตสาหกรรม ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการติดตั้งคูลลิ่งทาวเวอร์ก็ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล รวมทั้งเลือกบริษัทผู้รับออกแบบ ติดตั้งคูลลิ่งทาวเวอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ และมีบริการที่ดีทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง

บริษัท แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด
Tel: 02-509-3211
Email : admin@mcenergy-evo.com