อาคารสีเขียวช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่
อาคารสีเขียวคืออะไร โครงสร้างและระบบอาคารประหยัดพลังงาน
อาคารประหยัดพลังงาน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน
ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” จากเขตอาคารก่อสร้างหรืออุตสาหกรรม จึงทำให้หลายปีที่ผ่านมาเกิดการผลักดันให้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและการช่วยลดมลพิษในระยะยาว ดังนั้นการสร้างอาคารประหยัดพลังงานหรืออาคารสีเขียวจึงเป็นที่นินยมขึ้นมาเพื่อตอบในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และยังรวมถึงค่าใช้จ่าย การเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของแต่ละองค์กรด้วย ซึ่งถือเป็นการยึดหลัก ESG คือ Environment, Social และ Governance
อาคารสีเขียวคืออะไร ช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่?
อาคารสีเขียวหรือ Green Building คือการสร้างอาคาก่อสร้างโดยคำนวณถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุด ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด โดยมีความนิยมมาจากโซนยุโรปและอเมริกาที่นำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ รวมถึงในปี ค.ศ. 1999 ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม World Green Building Council กับสมาชิกกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และให้คำจำกัดความว่า Green Building คืออาคารที่ต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งวัสดุและระบบในการสร้างอาคารจะต้องถูกคิดมาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบอาคารสีเขียวจึงควรคำนึงตั้งแต่โครงสร้างและการวางระบบ นำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อให้ปล่อยคาร์บอนออกมาน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ เช่น การใช้ระบบปรับอากาศในอาคาร ใช้พลังงานโซล่าเซลล์ มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น โดยอาจคำนึงถึงหลักการดังนี้
- มีระบบกรอบอาคารประสิทธิภาพสูง
- มีการถ่ายเทมวลความร้อนได้ดี
- มีการควบคุมแสงอาทิตย์ หรือนำแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงาน
- มีการหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติ
- มีการหมุนเวียนอากาศผ่านระบบท่อ
ซึ่งการนำเอาระบบและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการสร้างอาคารประหยัดพลังงานนั้น เน้นที่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในระยะยาว รวมถึงเป้าหมายที่จะช่วยลดคาร์บอนหรือลดปัจจัยที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคตและตลอดอายุการใช้งาน
โครงสร้างและระบบที่ใช้กับอาคารสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
- สร้างกรอบอาคารป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
การสร้างเกาะกำบังให้อาคารเป็นด่านแรกที่ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ในตัวอาคารให้มากที่สุด เพื่อให้อุณหภูมิเหมาะกับการใช้งานหรือใช้อยู่อาศัย โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส และอากาศภายนอกโดยเฉพาะในพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณไทย อยู่ที่ 35 องศา การมีระบบป้องกันความร้อนจะช่วยให้อุณหภูมิลดลงเพื่อให้การทำความเย็นภายในอาคารไม่หนักเกินไป เช่น อากาศจากภายนอกเหลือ 27 องศา นั่นแปลว่าจะให้การเพิ่มความเย็นอีกแค่ 2 องศาเท่านั้น ทำให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น อย่างการใช้ Air Cooled Chiller ระบบชิลเลอร์ (Chiller)ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ
เครื่องทำความเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือ Air Cooled Chiller เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการความเย็นไม่มากเช่นการอยู่อาศัย อาคารสำนักงาน มีความสะดวกในการติดตั้ง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัด หากต้องมีการซ่อมชิลเลอร์ (Chiller)ก็ง่ายต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าเป็นการใช้งานในโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ ควรเลือกเป็น Water Cooled Chiller ที่เป็นเครื่องทำความเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ก็จะประหยัดกว่าระบบ Air Cooled Chiller - ถ่ายเทความร้อนและสร้างคุณภาพอากาศ
นอกจากการวางกรอบให้อาคารแล้ว ตัวอาคารที่ใช้งานยังต้องมีการถ่ายเทความร้อนและสร้างคุณภาพอากาศที่ดี เช่น นำ Cooling tower (คูลลิ่งทาวเวอร์) ไปใช้ในการระบายความร้อนของน้ำในการหล่อเย็นกับอาคารใหญ่ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม โดยทำหน้าที่เปลี่ยนความร้อนจากการระเหยตัวของน้ำ ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ยังนำกลับมาใช้ได้อีก หรือระบบ HVAC (Heating, Ventilation, Air Conditioning) เป็นระบบการทำความเย็น กรองอากาศ ถ่ายเทอากาศ และลดความชื้น ซึ่งช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ (Air compressor) ทำให้ประหยัดพลังงานในอาคารได้อีกทาง
นอกจากนี้ยังมีระบบ AHU (Air Handing Unit) คือระบบปรับอากาศที่ส่งลมเย็น ทำหน้าที่ปรับและหมุนเวียนอากาศ สามารถกระจายอากาศทั่วทั้งอาคารผ่านทางท่อ จะเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำเย็นที่มาจากเครื่องทำน้ำเย็นกับอากาศ ทำให้อากาศที่ผ่านออกไปมีอุณหภูมิต่ำลงเพื่อไปใช้ปรับอากาศต่อ และระบบ VRV/VRF ที่ช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศเช่นกัน เพราะมีคอยล์ร้อนขนาดใหญ่หนึ่งชุดทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากอาคาร และจ่ายน้ำยาไปยังคอยล์เย็นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในตัวคอยล์เย็นจะมีฟังก์ชันที่ปรับปริมาณน้ำยาสร้างความเย็นได้เหมาะสม ช่วยให้ Compressor ไม่ต้องทำงานที่ความเร็ว 100% เสมอไป - สร้างพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
การนำพลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) มีข้อดีคือนำมาใช้ได้ทันทีหรือจะสะสมไว้ในรูปแบบแบตเตอรี่เพื่อใช้ภายหลัง ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในอาคาร
แม้ว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่าย แต่สามารถเลือกราคาที่ย่อมเยาว์เหมาะกับงบประมาณได้เนื่องจากได้รับความนิยมมากขึ้นทำให้มีตัวเลือกโซล่าเซลล์คุณภาพตามท้องตลอดมากขึ้น และผลิตกระแสไฟฟ้าได้เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรม โรงเรือน ภาคการเกษตร จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว เป็นพลังงานที่สะอาดและปราศจากมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
การสร้าง อาคารประหยัดพลังงาน คุ้มค่าหรือไม่?
แม้ว่าการออกแบบอาคารที่ต้องการนั้นจะต้องมีระบบที่เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยประหยัดพลังงานและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด อาจเกิดคำถามเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมา แต่ทั้งนี้หากมองในระยะยาวจะมีความคุ้มทุนหากคิดในแง่ของการประหยัดค่าไฟที่มากขึ้นว่าลดลงไปกี่เปอร์เซนต์ เนื่องจากอาคารเหล่านี้สร้างเพื่อระยะยาว หากเปรียบเทียบแล้วก็คุ้มค่าอยู่ไม่น้อย การใช้พลังงานไฟฟ้าก็จะลดลง คาร์บอนก็จะลดลงไปด้วยเช่นกัน
นอกจากการสร้างอาคารสีเขียวเพื่อช่วยประหยัดพลังงานและมุ่งเน้นสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว การสร้างความยั่งยืนแบบองค์รวมก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสียภายในอุตสาหกรรมหรืออาคารที่มีการใช้งานต่างๆ ทำให้น้ำสะอาดที่สุดก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
สร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมและเริ่มต้นประหยัดพลังงานแบบระยะยาว เลือก McEnergy ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบประอากาศในอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดโดยตอบโจทย์การใช้งานและงบประมาณ ทั้งระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling tower), ระบบชิลเลอร์ (Chiller), ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ได้คุณภาพ เช่น Chilled Water Pump, VSD พร้อมการบริการอย่างมืออาชีพด้วยทีมวิศวกรตลอดจนช่างเทคนิคที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดีเยี่ยม มีความรู้ความเข้าใจในด้านระบบปรับอากาศอย่างแท้จริง สามารถสร้างสรรค์ออกแบบระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพให้แก่ลูกค้าทุกท่านได้อย่างเต็มศักยภาพ