โซลล่าเซลล์แบบไหนเหมาะกับอากาศของบ้านเรา

สภาพอากาศเมืองไทยกับการเลือกประเภทแผงโซลล่าเซลล์แบบไหนจึงจะเหมาะ

ประเภทแผงโซลล่าเซลล์

สภาพภูมิอากาศมีความสำคัญต่อการเตรียมตัว การดำรงชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าในอากาศที่หนาวเหน็บต้องเลือกแบบที่สวมใส่ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย การเลือกเมล็ดพันธุ์เพาะปลูกที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศต่างกัน การสร้างบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางลม ทิศทางแสงแดดเพื่อช่วยให้บ้านเย็นสบาย สำหรับการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ ในบ้านเราก็เช่นเดียวกันต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เพื่อประสิทธิภาพของการนำเอาพลังงานสะอาดจากดวงอาทิตย์มาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้ได้ตลอดปี ซึ่งโซลล่าเซลล์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้พลังงานใหม่ในชีวิตประจำวัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องเรียนรู้

พลังงานสะอาด พลังงานไฟฟ้า ที่เกิดจากแสงอาทิตย์ จากเซลล์ที่เรียกว่า “โซลล่าเซลล์” โดยเซลล์นี้จะทำหน้าที่รับความเข้มของแสงอาทิตย์เปลี่ยนพลังงานแสงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC : Direct Current) นำมาใช้ประโยชน์ ถือเป็นพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนพลังงานไฟฟ้าที่มาจากน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ การเลือกใช้โซลล่าเซลล์นั้นเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งอื่น ช่วยลดค่าไฟฟ้า ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศที่พร้อมกับการลงทุนกับโซลล่าเซลล์และมีสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ชัยภูมิที่มีแสงอาทิตย์พร้อมกับการสร้างพลังงานไฟฟ้านี้ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องดำเนินการต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นพลังงานที่เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้


ความสำคัญ ของพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนจาก โซลล่าเซลล์

  • ลดค่าไฟ เป็นพลังงานไฟฟ้าเสริมเพิ่มเติม ลดปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอหรือไฟฟ้าขัดข้อง
  • แบ่งเบาภาระมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งพลังงานอื่น เป็นพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ พลังงานยั่งยืน
  • โซลล่าเซลล์ปัจจุบันราคาจับต้องได้ น่าลงทุน คุ้มค่าในระยะยาว ใช้งานได้ยาวนาน
  • การติดตั้งง่าย ระบบการใช้งานปลอดภัย
  • เป็นทางเลือกให้สำหรับพื้นที่ว่างเปล่าแล้วทำให้เกิดประโยชน์ ด้วยการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ นำพลังงานมาใช้งาน
  • ลดปัญหาไลน์ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมหยุดชะงัก เนื่องจากไฟฟ้าขัดข้อง ใช้พลังงานจากโซลล่าเซลล์แทน
  • ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ตามปกติ รวมถึงรถยนต์ ปั๊มน้ำ เป็นต้น


สภาพภูมิอากาศเมืองไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ส่วนใหญ่คล้ายกัน ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปเอเชียทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่เขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว อากาศจะร้อนสุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาว โดยฤดูกาลเป็นช่วงเวลาของปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้แต่ละช่วงได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้อุณหภูมิต่างกัน

  • ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนประเทศไทยมีดวงอาทิตย์เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนและแสงอาทิตย์เต็มที่ อากาศร้อนอบอ้าว แต่ก็มีพายุฤดูร้อนขึ้นได้

  • ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนมิถุนายนจะเริ่มมีฝนและหลังจากนั้นจะมีฝนทิ้งช่วง และในเดือนกรกฎาคมจะกลับมาฝนชุกต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนตุลาคม จึงเริ่มมีอากาศเย็น ฝนลดลง ท้องฟ้าโปร่ง ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนชุกจนถึงเดือนธันวาคม

  • ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ กลางเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน อากาศอาจจะเริ่มเย็นหรืออาจมีฝนฟ้าคะนอง ฤดูนี้ลำแสงดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวโลกลำแสงที่ตกกระทบพื้นที่ประเทศไทยจึงเป็นลำแสงเอียง ท้องฟ้าโปร่ง มีเมฆปกคลุมน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี


หากแบ่งเป็นรายภาค แต่ละภาคจะมีสภาพอากาศดังนี้

  • ภาคเหนือ เป็นเขตภูเขา มีป่าไม้มาก จึงทำให้ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด และฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง มีทิวเขาเป็นขอบ ฤดูหนาวจึงมีอากาศหนาวจัด ฤดูร้อนจะร้อนจัดและแห้งแล้ง
  • ภาคกลาง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ฤดูหนาวไม่หนาวเย็นเท่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนฝนตกชุก ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด
  • ภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ภูเขาและที่ราบ มีเกาะมาก จึงได้รับอิทธิพลของลมทะเล ทำให้อากาศฤดูร้อนไม่ร้อนจัด อากาศฤดูหนาวไม่หนาวจัด
  • ภาคตะวันตก เป็นทิวเขาสลับหุบเขา ทางตอนเหนือของภาคจะอบอ้าว ทางตอนใต้มีมรสุมพัดผ่านไม่ร้อนจัด ฤดูหนาวทางตอนบนจะมีอากาศหนาว ส่วนตอนใต้ไม่หนาวมาก
  • ภาคใต้ พื้นที่แหลมยาวยื่นไปในทะเล มีเกาะเป็นจำนวนมาก ทำให้รับลมทะเล ชุมชื้น ฝนตกตลอดปี อาจถือได้ว่ามี 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อน ตามปกติจะได้รับลมทะเล ทำให้ฤดูร้อนไม่ร้อนจัด

จากข้อมูลสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยนั้น โดยรวมคือร้อนอบอ้าว ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนหรือภูมิภาคใด พบว่า ท้องฟ้าโปร่ง อากาศร้อน ซึ่งอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวข้องกับกลางคืนกลางวัน ฤดูร้อนฤดูหนาว กระแสลม ฝนตก ลูกเห็บ น้ำค้าง รวมถึงความเข้มของแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งนั่นก็สามารถยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ประเทศของเราสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จากแผงโซลล่าเซลล์ได้เพราะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี


ประเภทโซลล่าเซลล์

แผงโซลล่าเซลล์แต่ละแบบมีข้อบ่งชี้การใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้มีการใช้งานโซลล่าเซลล์กันอย่างแพร่หลายในหลายภาคส่วนทั้งครัวเรือน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ดังนั้นเบื้องต้นต้องทราบประเภทของโซลล่าเซลล์กันก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้เลือกใช้งานให้เหมาะกับอากาศของบ้านเรา ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด


แผงโซลล่าเซลล์ที่มีในบ้านเรามีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  1. แผงโซลล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ : เป็นแผงโซลล่าเซลล์ที่ผลิตขึ้นจากผลึกซิลิคอน ลักษณะเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมตัด นำมาเรียงต่อกัน มีสีดำเข้มสวยงาม รับแสงได้ดี มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้า อายุการใช้งานเฉลี่ย 25 ปี ราคาค่อนข้างสูง สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีขณะมีแสงน้อย
  2. แผงโซลล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ : เป็นแผงโซลล่าเซลล์ที่ผลิตขึ้นจากผลึกซิลิคอนเหมือนแผงโซลล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ รูปแบบเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ปริมาณซิลิคอนน้อยกว่า แผงเป็นสีน้ำเงินไม่เข้มมาก ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าอยู่ระดับปานกลาง เหมาะกับพื้นที่ที่รับแสงอาทิตย์ได้ดี อายุการใช้งานเฉลี่ย 20 ปี ขณะที่มีอุณหภูมิสูงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าแผงโซลล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์
  3. แผงโซลล่าเซลล์แบบฟิล์มบางหรืออะมอร์ฟัสโซลล่าเซลล์ : เป็นแผงโซลล่าเซลล์ที่บางที่สุด ผลิตจากสารอะมอฟัสมาฉาบเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ ซ้อนกันหลายชั้น สามารถโค้งงอได้ดี ราคาถูก ผลิตไฟฟ้าได้น้อย อายุการใช้งานสั้น ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาถูกกว่า เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่กว้างขวาง เหลือเฟือ สามารถลงทุนกับแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้ได้

แผงโซลล่าเซลล์ทั้ง 3 แบบเป็นชนิดที่สามารถใช้งานในภูมิอากาศของบ้านเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเลือกใช้ประเภทใด จำนวนเท่าไรนั้นให้พิจารณาลึกลงไปในข้อจำกัด ความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ รวมถึงงบประมาณที่มีด้วย โดยมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมจากข้อมูลเหล่านี้

สิ่งที่ต้องคำถึงถึงในการเลือกติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์

  • ความเหมาะสมของตัวบ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างหลังคา โครงสร้างบ้าน ลักษณะพื้นที่ติดตั้ง ตำแหน่ง ทิศทางในการติดตั้ง สิ่งแวดล้อม
  • ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลล่าเซลล์ ปริมาณ ขนาด ประเภท
  • ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของแต่ละสถานที่
  • งบประมาณในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
  • เป้าหมายในการลดค่าไฟฟ้า ความคุ้มค่าในการลงทุน จุดคุ้มทุน
  • อายุการใช้งานแผงโซลล่าเซลล์ การดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยาก
  • จุดประสงค์ในการติดตั้งใช้งาน บ้าน ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคเกษตรกรรม
  • การขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ
  • ระบบการใช้ไฟฟ้าของแผงโซลล่าเซลล์ ระบบออนกริด ระบบออฟกริด
  • ความน่าเชื่อถือ คุณภาพ ประสบการณ์ ของผู้ให้บริการติดตั้งและดูแลรักษาแผงโซลล่าเซลล์ มีบริการหลังการขาย มีการรับประกัน
  • อื่น ๆ เช่น ความกลมกลืนกับบ้าน อาคาร เพื่อความสวยงาม การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อดูแลตรวจสอบปริมาณการผลิตการใช้ไฟฟ้าได้ เป็นต้น


การเลือกใช้แผงโซลล่าเซลล์นอกจากให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของบ้านเราแล้ว การตรวจสอบ พิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่เพียงแค่ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและราคาเท่านั้น ก่อนการตัดสินใจติดตั้งต้องศึกษาข้อมูลให้พร้อม เพื่อจะได้ไม่เสียใจ เสียดาย ภายหลัง ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ถือได้ว่าแผงโซลล่าเซลล์ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลให้ศึกษา เปรียบเทียบมากมาย มีการติดตั้งใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายภาคส่วน ถือเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศเราได้อีกทางหนึ่ง ในอนาคตต่อไปอาจจะเห็นว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก จากดวงอาทิตย์นี้ได้ไม่ยาก

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาโซลล่าเซลล์เพื่อใช้งาน ติดต่อมาหาเราเพื่อปรึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม เรา แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น ผู้เชี่ยวชาญระบบโซลล่าเซลล์ พร้อมให้บริการ ด้วยทีมงานคุณภาพ ประสบการณ์ยาวนาน มาตรฐานสากล แล้วคุณจะได้รับความประทับใจกลับไป

 

“ระบบโซลล่าเซลล์ เม็คเอนเนอยี่ คือคำตอบที่ดีที่สุด”
McEnergy ผู้เชี่ยวชาญระบบโซลล่าเซลล์

พร้อมให้บริการ ด้วยทีมงานคุณภาพ ประสบการณ์ยาวนาน
มาตรฐานสากล แล้วคุณจะได้รับความประทับใจกลับไป

Hotline: 02-509-3211 , 090-9839009
Email : admin@mcenergy-evo.com